content

23.7.10

10 ผลงานดีไซน์จาก ฝีมือยังก์ดีไซเนอร์



เสื้อผ้าแฟชั่น


พบ 10 ผลงานดีไซน์จาก ฝีมือยังก์ดีไซเนอร์ (ไทยรัฐ) ต้องขอปรบมือดัง ๆ ให้กับหนุ่มน้อยยังดีไซเนอร์เนอร์ จากรั้วมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ที่เค้นไอเดียสุดบรรเจิดสร้างสรรค์ผลงานคอลเลคชั่น "When music meet street fashion" จนเอาชนะใจกรรมการไปได้จากเวที "สยามเซ็นเตอร์ ดีไซน์ ฟอร์เวิร์ด : สปาย ยู แฟชั่น คอนเทสต์ 2009" ที่ปีนี้มีน้องๆนักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการอย่างคึกคัก สำหรับโจทย์ในปีนี้นั้น กำหนดให้ออกแบบในธีม "The Rhythm of SPY" ที่เน้นการผสมผสานระหว่างแฟชั่น และดนตรีได้อย่างลงตัว โดยยังก์ดีไซเนอร์ทั้ง10 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบต้องสร้างสรรค์ และตัดเย็ยเสื้อผ้า จำนวน 3 ชุด และชุดภายใต้แนวติด "การลดวิกฤตโลกร้อน" อีก 1 ชุด รวมเป็นคอลเลกชั่นเต็มจำนวน 4 ชุด


โดยยังดีไซเนอร์ที่แจ้งเกิดในเวทีนี้ คือ นายปัฐ กุฎีเขต นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบแฟชั่น มศว. เล่าถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบคอลเลกชั่นนี้ว่า มาจากแนวดนตรี J-Pop ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการแต่งกายของศิลปินญี่ปุ่นในการออกคอนเสิร์ต รวมถึง MV Single ที่ใช้สีสันที่ฉูดฉาดให้ดูล้ำสมัยด้วยสีและวัสดุ แต่ยังคงความเป็น Traditional ในแบบญี่ปุ่นอยู่ ด้วยชิ้น Item ที่ดูเป็นญี่ปุ่นตัดทอนสวมใส่สไตล์ Mix & Match แบบ Street wear ที่มีความเป็นตัวของตัวเองด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าทับซ้อนกันหลายชิ้น และเสน่ห์ที่สามารถเอาชนะใจคณะกรรมการ คือ "การสื่อด้วยรูปแบบชุดที่ดูเข้าใจง่าย ใส่ได้จริง"


แต่ที่เข้าสมัยสุด ๆ ก็ต้องเป็นคอลเลกชั่นรัก(ษ์)โลก โดยเจ้าของรางวัล "Eco Chic" คือ นายวรรณกร อุ่นวิเศษ เพื่อนร่วมสถาบันของแชมป์คนเก่งนั่นเอง ซึ่งผลงานชิ้นนี้ชื่อว่า "MOLT" ที่ต้องการลดการใช้สารเคมีย้อมผ้า ซึ่งเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม จึงนำเส้นใยฝ้ายจากธรรมชาติ นำมาย้อมสีด้วยชา และกาแฟ พร้อมใช้แรงกายในการดีไซน์ถักทอด้วยมือจนออกมาเป็นชุดรักษ์โลก ปิดท้ายที่รางวัล Popular Vote หรือขวัญใจสื่อมวลชน ตกเป็นของ นายณัฐ เพชรรัตน์ และ นายธีรพันธ์ ฉุนราชา ชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ (ออกแบบแฟชั่น)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พระนครใต้ ในคอลเลคชั่น "Volume Level" ซึ่งนำเสียงดนตรีเสนาะหูจากวงศ์ดุริยางค์ ของ "นิ้งหน่อง" (Bell) มาผสานกับสีสัน และรูปทรงโลหะที่เรียงรายประกอบกันเป็นเครื่องดนตรี กลายเป็นแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนความสนุกสนาน









credit: kapook.com

20.7.10

แนวโน้มแฟชั่น




แนวโน้มแฟชั่น

แบบเสื้อเชิงคิดค้นปรากฏอยู่บนถนน บนเวทีเดินแบบ หรืออยู่ในสื่อ นับเป็นความสามารถอย่างสูงสุดของผู้วางแนวโน้มแฟชั่นที่กระโดดข้ามแฟชั่นปัจจุบัน ทิ้งแนวโน้มบางอย่างไป แล้วหาใหม่มาทดแทนได้ ความใหม่ ทำให้แบบชวนดึงดูดใจและสิ่งนั้นหายไป หรือหาได้ยากขึ้นในท้องตลาด แนวโน้มเป็นการสร้างแบบใหม่ให้เป็นที่รู้จักและเร่งให้เกิดความต้องการขึ้นในหมู่ผู้บริโภค ผลการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางแฟชั่น แสดงให้เห็นว่าแบบใหม่ๆไม่ได้เกิดจากความฝัน หากแต่เป็นแฟชั่นที่มีวิวัฒนาการตามตรรกะมาจากสิ่งที่มีมาก่อนหน้า ขั้นถัดไปในการทดลองที่ประสบความสำเร็จ และเป็นการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หรือเป็นการแสดงความแตกแยกทางวัฒนธรรม แนวโน้มมีวิวัฒนาการเป็นสามขั้นตอนดังนี้




1. แตกรวง เป็นขั้นตอนที่เมื่อมีสิ่งคิดค้นใหม่เกิดขึ้น และคนที่นำสมัยที่สุดในหมู่ผู้บริโภคและบริษัทนักบุกเบิกเริ่มเข้ามาร่วมกระบวน
2. แนวโน้ม เป็นขั้นตอนที่ความแวดวังแนวโน้มนั้นกระจายออกไป เพราะคนที่นำไปใช้รุ่นแรกเข้ามาร่วมกับผู้คิดค้น ทำให้เห็นแนวโน้มได้กว้างขวางออกไป และเกิดยี่ห้อหัวก้าวหน้า ที่ผู้ค้าปลีกนำไปทดสอบแล้วยอมรับ
3. กระแสหลัก เป็นขั้นตอนที่ผู้บริโภคหัวเก่าเข้ามาร่วม ทำให้มองเห็นแนวโน้มได้กว้างขวางขึ้น บริษัทใหญ่และผู้ผลิตยี่ห้อต่างๆ นำความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นไปทำประโยชน์





เมื่อแนวโน้มเข้ามาอยู่ในกระแสหลักแล้ว สิ่งหนึ่งสิ่งใดในจำนวนหลายๆสิ่งอาจเกิดขึ้นได้ แนวโน้มอาจจางหายไป ถ้าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีสิทธิที่จะรับหรือปฏิเสธแนวโน้มนั้นเสียก็ได้ แต่ถ้าแนวโน้มนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆและดึงดูดใจแต่เพียงผู้บริโภคกลุ่มเล็กๆ เราเรียกแนวโน้มนั้นว่า แฟด (สิ่งที่นิยมกันชั่วครั้งชั่วคราวอย่างรุนแรง) ถ้าผู้บริโภคเข้ามาซื้อแนวโน้มนี้ซ้ำหรือซื้อเพื่อชดเชยที่เคยซื้อไปแล้ว แบบที่จะพุ่งขึ้นไปเป็นที่ยอมรับระดับสูงสุดและดำเนินต่อไปอยู่ที่ระดับนั้น ถ้าแบบหรือแนวโน้มยังดำเนินต่อไปนานพอ แนวโน้มก็กลายเป็นคลาสสิก อันหมายถึงแบบที่มีอยู่ตลอดกาลในรูปหนึ่งรูปใด และมีความเหมาะสมที่จะใช้ในหลายโอกาส และเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภคหลายกลุ่ม หรือแนวโน้มแตกกระจายออกเป็นแนวโน้มจิ๋ว หรือแนวโน้มไมโคร แนวโน้มจิ๋วอาจเป็นการบิดเบนประเพณีปฏิบัติแนวโน้มเดิม หรือคิดค้นใหม่ หรือเป็นการตอบโต้อย่างรุมแรง ทั้งหมดล้วนแต่ทำให้เกิดแนวโน้มขึ้นได้ โดยวิ่งย้อนกลับไปหาขั้นแรกใหม่

ในหนังสือเรื่อง อาณาจักรแฟชั่น ของไลโปเวตสกี้ แฟชั่นสมัยใหม่แบ่งออกเป็นสามยุค ยุคแรกเริ่มต้นในช่วงปี 1860 เมื่อบิดาแห่งช่างเสื้อชั้นสูง ชาร์ลส์ เฟรเดอริค เวิร์ธ ตั้งสำนักแฟชั่นขึ้นที่กรุงปารีส เริ่มต้นแสดงแบบเสื้อที่ออกแบบขึ้นล่วงหน้า แล้วเปลี่ยนสไตล์บ่อยครั้งขึ้น จากนั้นจึงว่าจ้างนางแบบมาสวมเสื้อผ้าแสดงให้ลูกค้าดู ยุคที่สองเริ่มขึ้นเมื่อช่วงปี 1960 เป็นการปฏิวัติ
เสื้อผ้าพร้อมใส่ หรือเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในขณะที่ระบบเก่ายังอยู่ โครงสร้างการผลิตเชิงปริมาณสำหรับชนหมู่มาก และการโฆษณาเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อการผลิตเชิงปริมาณและการโฆษณารุนแรงขึ้นมวลชลก็เข้ามาอยู่ ในแฟชั่น กันได้มากขึ้น และแฟชั่นก็เป็นที่ต้องการของคนทั่วไป ส่วนยุคที่สามเริ่มขึ้นเมื่อปลายช่วงปี 1960 และมีลักษณะดังนี้
1. มีความหลากหลายจากนักออกแบบรายหนึ่งไปสู่นักออกแบบอีกรายหนึ่งอย่างรุนแรง
2. แบบที่เป็นที่ยอมรับกันมีจำนวนมากมาย
3. บรรดาผู้บริโภคมีความเป็นเอกเทศมากขึ้น
4. แนวร่วมอิสรภาพสตรีหันไปส่งเสริมเสื้อผ้าที่เน้นประโยชน์ใช้สอย ไม่มีความเข้มงวด และนิยมการสวมใส่ที่สบายยิ่งขึ้น
5. เส้นกั้นพรมแดนอย่างชัดเจนว่าแฟชั่นใดนำสมัยแฟชั่นใดล้าสมัยเลือนไป

ทุกวันนี้แทนที่จะเดินตามแฟชั่นตามที่แนวโน้มกำหนดไว้ ผู้บริโภคกรองทางเลือกออกเพื่อหาแบบที่เหมาะกับสุนทรียะของตน นิยมการผสมหลากสไตล์เข้าด้วยกัน และอิงอิทธิพลจากแหล่งต่างๆ ที่ดูเหมือนจะแย้งกันด้วยซ้ำไป จึงอาจใช้เป็นคำนิยามแฟชั่นทุกวันนี้ได้อย่างดี แฟชั่นทุกวันนี้จึงไม่ใช่แฟชั่นเดียวแต่เป็นหลากแฟชั่น แฟชั่นสมัยใหม่ยุคที่สามจึงเป็นแฟชั่นเผ่าชน เผ่าชนหนึ่งคือกลุ่มชนที่มีความคิด และวิ๔การดำเนินชีวิตที่เหมือนกัน การใช้เสื้อผ้าสไตล์เดียวกันเป็นเครื่องหมายบอกความเป็นสมาชิกอยู่ในเผ่าหนึ่ง คนกลุ่มนี้หาสไตล์ที่จะนิยามแบบฉบับตนเองจากยุคหนึ่ง หรือพัฒนาแบบที่สะท้อนความสนใจและรสนิยมของกลุ่มตนขึ้น เช่น ฮิบปี้ เมื่อช่วงปี 1970 ที่แต่งกายเพื่อแสดงว่าตนไม่แยแสกับระบบวัตถุนิยม
สไตล์รุ่นหลังๆ คือ การสวมเครื่องหมายการค้า ยี่ห้อที่แปะติดบนเสื้อผ้า ระบุว่าผู้สวมรายนั้นเป็นชนเผ่า. RL ชนเผ่า CK หรือ ชนเผ่า DKNY ส่วนสไตล์ชนเผ่าอื่นๆ จะเห็นได้อยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมย่อยอันเป็นที่มาของคำว่า แฟชั่นข้างถนน แต่ปรากฏการณ์นี้ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มวัฒนธรรมย่อย ในหมู่นักเรียนนักศึกษาก็มีปรากฏการณ์เช่นนี้ เมื่อเด็กเข้าสังกัดกลุ่มกันตามที่สวมใส่ในรั้วโรงเรียนและมหาวิทยาลัย










วิธีวิจัยแนวโน้มแฟชั่น
เมื่อใช้คำว่าแนวโมตามแฟชั่นสมัยใหม่ยุคที่สามเช่นนี้ ทำให้สภาพแวดล้อมสำหรับนักวิจัยแฟชั่นเกิดข้อมูลขึ้นหลายกลุ่ม และด้วยเหตุที่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคไม่ได้ยึดติดอยู่กับข้อบังคับทางสังคมมากเหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้ทำนายพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคได้ยาก ในแฟชั่นสมัยใหม่ยุคที่สาม ไลโปเวตสกี้ [15] ว่ามีตรรกะสามอย่างซ้อนกันอยู่
1. ตรรกะตามสุนทรียศาสตร์
2. ตรรกะตามวิธีการผลิตเสื้อผ้าเชิงอุตสาหกรรม
3. ตรรกะการตัดสินใจตามรสนิยมส่วนตัวของผู้บริโภค
งานวิจัยแนวโน้มแฟชั่นจึงมีข้อหนึ่งที่เป็นการแยกตรรกะทั้งสามนี้ออกจากกัน ในขณะที่โดยส่วนตัวจะชื่นชอบศิลปะตามสุนทรียะที่เห็นอยู่ในคอลเล็คชั่นของนักออกแบบก็ตาม นักวิจัยก็ต้องกระโดดข้ามการแสดงแบบแฟชั่นซึ่งอันที่จริงเป็นหลุมพราง แล้วหาให้ได้ว่าอะไรเป็นเสื้อผ้าที่สวมได้จริง ๆ ซึ่งอยู่ลึกลงกว่าที่เห็น ( บนเวทีการแสดง ) เสื้อผ้าส่วนที่สวมได้จริง มักจะขึ้นอยู่กับตรรกะตามวิธีการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ที่ทำให้การผลิต Collection เป็นไปได้ที่จุดที่มีต้นทุนต่ำสุดและสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคตามวิถีการใช้ชีวิตจริง ๆ ได้ เสื้อผ้าที่ผู้บริโภครายหนึ่งสวมได้อีกรายหนึ่งอาจสวมไม่ได้ นักวิจัยที่เข้าใจสุนทรียะ การผลิต และการสวมใส่ได้ตามทัศนะของผู้บริโภคจึงจะค้นพบแนวทางการออกแบบที่จะเป็นจริงได้





วิธีวิจัยแนวโน้มแฟชั่นประกอบด้วยสามขั้นตอน ดังนี้
6.1 การหาข้อมูล
ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มแฟชั่นอาจมาจากหลายแหล่ง ในจำนวนนี้อาจได้แก่
1. การอ่านสิ่งตีพิมพ์ทางการค้า
2. การอ่านนิตยสารแฟชั่นนานาชาติ
3. การใช้บริการสำนักพยากรณ์
4. หลักการช้อปปิ้ง ผลิตภัณฑ์คู่แข่ง
5. การสัมภาษณ์ผู้จัดซื้อและผู้จัดการร้านค้าปลีก
6. การไปชมการแสดงแฟชั่นในยุโรปและอเมริกา
7. การค้นคว้าจากเวบไซต์
ยุโรปมักจะเป็นตัวจุดชนวนแฟชั่นแนวโน้มเสื้อผ้าพร้อมใส่ทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารและนักออกแบบต้องจับตามองนักออกแบบแฟชั่นชั้นสูงในยุโรป เทปวิดีโอ หรือวิดีโอดิจิทัล ของงานแสดงแฟชั่นสำคัญในยุโรปมีให้บอกรับเป็นสมาชิกจากบริการด้านแฟชั่นกิจกรรมทั้งหลายในขั้นนี้ก็เพื่อสังเกตการณ์และนำเสนอข้อมูลผลที่พบ

6.2 การวิเคราะห์ข้อมูล
จากนั้นผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารรายอื่น ๆ จะนำข้อมูลจากแหล่งดังกล่าวข้างต้นมาร่อนหาแนวความคิดหลักหรือแนวโน้ม ตามกระบวนวิธีที่เรียกว่า การสลายวัตถุธรรมให้เป็นนามธรรม [16] อันเป็นกระบวนการหา ความคล้ายคลึง ( หรือความแตกต่าง ป ต่าง ๆ ในหมู่ผลิตภัณฑ์และแบบในคอลเล็คชั่นที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลข้างต้น ด้วยการนำองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นในเสื้อผ้าชุดหนึ่ง ๆ มาเปรียบเทียบกัน และดูความคล้ายคลึงระหว่างชุดเสื้อผ้าอื่น ๆ ความคล้ายคลึงอาจมาจากแนวความคิดหลักที่เป็นภาพหรือเป็นสัญลักษณ์อยู่ในผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1. แบบโดยรวม เช่น มินิมัลลิลต์ หรือฟุ่มเฟือย ดูเป็นผู้หญิงหรือดูเป็นผู้ชาย เซ็กซี่หรือสุภาพ
2. โครงเรื่องหลัก หรืออารมณ์ เช่น เศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออยู่รอด หรือมั่นคงเหมือนกอธิก
3. ลักษณะการแกว่งตัวทางแฟชั่น เช่น จากขาบานไปหาขาลีบ จากประโยชน์ใช้สอยไปหาความเปล่าประโยชน์
4. สัดส่วนของชิ้นเสื้อผ้า ความยาวชายผ้าหรือความยาวรอยพับกางเกง การวางตำแหน่งราวสะเอว ความกว้างหรือ ความโปร่งเสื้อผ้า
5. โครงร่างเงา ทรงกระบอก ทรงนาฬิกาทราย ทรงลิ่ม ทรงบลูซ็อง
6. จุดเน้น เช่น ไหล่ หน้าอก สะเอว ด้านหลัง ขา
7. ความพอดีตัว เช่น กอดรัดร่าง เว้นวรรคร่าง เน้นความโค้งเว้าร่าง หลวมตัว
8. รายละเอียดเฉพาะส่วน เช่น คอเสื้อ กระเป๋า ปกเสื้อ วิธีจัดแถบรัดสะเอว แขนเสื้อ หรือข้อมือเสื้อ
9. การทำรายละเอียดให้ผิดรูป
10. เครื่องแต่งขอบเฉพาะ เช่น ลูกปัด ผ้าปัก ผ้าปะ ผ้าลูกไม้ หรือสายร้อย
11. เครื่องเย็บปักถักร้อย เฉพาะ เช่น กระดุม ซิป หรือกระดุมกด
12. ประเภทผ้า เช่น ผ้าทอหรือผ้าถัก ผ้าขน ผ้ามันวาวเหมือนโลหะ
13. การแต่งผิวผ้า เช่น การย้อมสีเข้มขึ้นเป็นระดับ ๆ หรือการผ่า
14. ผ้าเฉพาะ เช่น ผ้าโปร่ง ผ้ากำมะหยี่ หรือผ้าเจอร์ซี่
15. คัลเลอร์สตอรี่


I. แนวโน้มนี้อาจนำไปรายงานอยู่ในรูปตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ชุดติดกัน หรือสูท หรือพาดข้ามประเภทผลิตภัณฑ์

6.3 การสังเคราะห์ข้อมูล
จากนั้นจึงนำแนวโน้มมาหาคู่ประกบตามเค้าลักษณะผู้บริโภค แต่เค้าลักษณะผู้บริโภคต้องก้าวไปไกลกว่าสถิติประชากร ไปหาลักษณะปลีกย่อยที่แตกต่างกันทางด้านปรัชญาส่วนตัวที่แสดงออกมาเป็นวิถีชีวิต กลุ่มสมาชิก ความนิยมและรสนิยม [17] ท้ายที่สุดจึงรวบรวมองค์ประกอบต่าง ๆ มาผนวกเข้าด้วยกันแล้ววางแนวทางดำเนินการตามหลัก 5P
อย่างไรก็ตาม นักออกแบบต้องเข้าใจว่าผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายสวมอะไร และต้องไหวตัวทันกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภค การได้พบปะกับกลุ่มโฟกัส หรือกลุ่มผู้บริโภคเป็นระยะ ๆ เป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการจับการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อ
เพื่อให้ทีมนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวโน้มแฟชั่นได้ทัน ทีมงานควรจะประชุมเรื่องแนวโน้มเป็นระยะ ๆ และให้นักออกแบบเป็นผู้เตรียมรายงานแนวโน้ม ส่วนนี้ควรผนึกเข้าไปในแผนงานเพราะการวิจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการพัฒนาสายผลิตภัณฑ์


7. สรุป
1. นักออกแบบต้องตระหนักว่า ผู้บริโภคมีความคาดหวังสูงเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ และจะมีความว้าวุ่นใจเมื่อพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมาไม่เป็นไปตามความต้องการ
2. ความต้องการที่นำมาใช้ในการออกแบบ ต้องเป็นของผู้บริโภคไม่ใช่ความต้องการของนักออกแบบ ถ้าต้องการจะให้ผลิตภัณฑ์ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ
3. ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใคร ต้องการสินค้าเฉพาะตัวมากขึ้นทุกที
4. นี่หมายถึงส่วนตลาดยิ่งเล็กลงทุกที การได้สื่อสารกับผู้บริโภคอยู่เสมอ คือ กุญแจแห่งความสำเร็จของนักออกแบบรุ่นใหม่

19.7.10

การออกแบบลายผ้า ( Textile design ) ลวดลาย

การออกแบบลายผ้า ( Textile design ) ลวดลาย

เป็นการผสมผสานกัน ระหว่าง เทคนิคการผลิต และ ความคิดสร้างสรรค์ ให้ตรงกับ ความต้องการ ของผู้บริโภค
การออกแบบสิ่งทอ เริ่มต้นจากการพิจารณาวัตถุดิบ อันได้แก่ เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการตกแต่ง การปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน ต้องมีผู้ชำนาญงานแต่ละอย่างช่วยกัน แม้กระทั่ง การจัดจำหน่าย ก็ต้องมี ผู้ชำนาญ อยู่ด้วย เพื่อให้สิ่งทอนั้นๆ เป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภค

แชมป์ออกแบบลายผ้าไทย – เกาหลี สวย เก๋ มาก

พลวัฒน์ ปิยปาณ (ปูน) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นผู้คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบผ้าทอมือและลายผ้าไหมที่จัดโดย บมจ.โทเทิ่ลเอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – สาธารณรัฐเกาหลี


ปูน กับผลงานลายผ้าที่คว้ารางวัลชนะเลิศ

ปูนบอกว่าแรงบันดาลใจของเขาในการออกแบบลายผ้าชิ้นที่ชนะเลิศนั้นเกิดมาจาก ตัวอักษรภาษาเกาหลี

“ตัวอักษรในภาษาเกาหลี คำว่า 우정(อู – จอง) ให้ความหมายว่า ”มิตรภาพ” ในภาษาไทย โดยลวดลายในผ้านั้นจะเป็นการนำเฉพาะส่วนของตัวอักษรคำว่า우정 แต่ละส่วนมาแยกและจัดองค์ประกอบใหม่ให้กลายเป็นคำในภาษาไทยว่า มิตรภาพ และนำมาเรียงต่อกันให้กลายเป็น Pattern บนลายผ้าไหม ซึ่งจะสื่อถึงความกลมเกลียวกันของ 2 ประเทศ แม้จะต่างภาษากันก็ตาม แต่ก็มีมิตรภาพที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ส่วนสีที่ใช้นั้น มี 2 สี คือ สีม่วง แทนสาธารณรัฐเกาหลี และสีเหลือง แทนประเทศไทย”

นอกจากนี้ปูนยังบอกอีกด้วยว่าการส่งผลงานเข้าประกวด ทำให้เขาได้ฝึกแนวคิด รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้ เทคนิคต่างๆ กับเพื่อนๆผู้เข้าร่วมประกวด และการที่เขาเข้าประกวดก็เหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้ลองได้ใช้จินตนาการสร้าง สรรค์ความคิดออกมา และที่สำคัญถือเป็นประสบการณ์อันมีค่าที่หาที่ไหนไม่ได้อีก

“ที่ผมรู้สึกภูมิใจมากนอกจากผลงานของผมได้รับรางวัล แล้วลายผ้าที่ผมออกแบบยังได้รับเกียรตินำไปทอลายผ้าที่มูลนิธิส่งเสริมศิลปา ชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์ในการแสดงถึงมิตรภาพความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศจริงๆ”

สุดท้ายปูนบอกว่าใครที่อยากจะเรียนด้านนี้ น่าจะเป็นคนชอบคิด เนื่องจากผู้ที่เรียนด้านนี้มักจะมีฝีมือกันทุกคน แต่คิดให้แตกต่างจากคนอื่นเป็นเรื่องยาก ดังนั้นผู้ที่เรียนต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมให้มาก เพื่อให้สร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างแตกต่าง

ที่มา : http://www.manager.co.th/Campus/

14.7.10

What is fashion forecasting? การคาดเดาแนวโน้มเทรนด์แฟชั่น

What is fashion forecasting?

fashion forecasting is the prime issue underlying the issue of trends. It is not an occupational guessing game because very substantial amounts of money of the fashion industry are at stake. It is a vital activity where experienced fashion analysts scrutinize past buying patterns signs ofr current market dynamics and project these into the future. There are forecast agencies that collect facts pertaining to consumer buying patterns, activities and occasions for which clothes are needed, their priorities, reading habits etc. this is done through liaison with stores, retailers and wholesalers fashion professionals also rely on information sources such as design, colour and video Services, newsletters, books, magazines and websites. In order to gear up for the season to come, the fibre and textile products ready well in time months before the consumers' wearing season. Without well-judged projections of designs, colours and fabrics by the forecasters, the producers would not be able to sell in large quantities of unsold to be disposed discount sales, the importance of the forecaster in trend analysis becomes invaluable.


การคาดเดาแนวโน้มเทรนด์แฟชั่นนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะว่า หากเรารู้ว่าในฤดูกาลหน้ากระแสของแฟชั่นนั้นจะมีแนวโน้มเทรนด์แฟชั่นไปในทิศทางไหน ดีไซน์เนอร์พร้อมที่จะรับมือกับมัน รู้วิธีและเข้าใจว่า ตนเองควรจะออกแบบเสื้อผ้าให้ออกมาเป็นอย่างไร และให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเข้ากับกระแสแนวโน้มเทรนด์แฟชั่นในฤดูที่จะเกิดขึ้นนั้น ๆ ได้ ไม่อินและเอาท์จนเกินไป


การคาดเดาแนวโน้มเทรนด์แฟชั่น อาจไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะดีไซน์เนอร์จำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนหนึ่งในการศึกษาแนวโน้มเทรนด์แฟชั่นที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งการศึกษาการคาดเดาแนวโน้มเทรนด์แฟชั่นนั้นมันก็มีความเสี่ยงมิใช่น้อย แต่การเป็นดีไซน์เนอร์ที่ดีนั้นต้องคำนึงถึงผู้บริโภคด้วย ดังนั้นตัวดีไซน์เนอร์จำต้องคำนึงถึงเทรนด์แฟชั่น ซึ่งนำพามาซึ่งการศึกษาการคาดเดาแนวโน้มเทรนด์แฟชั่น


ซึ่งสิ่งแรกที่ดีไซน์เนอร์ต้องทำก็คือการวิเคราะห์เทรนด์แฟชั่นในขณะนี้ ว่าแพทเทิร์นแบบไหนที่ได้รับการตอบสนองจากผู้บริโภคสูงสุด วิเคราะห์แพทเทิร์นเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าในอนาคต แนวโน้มเทรนด์แฟชั่นของเสื้อผ้าจะเป็นอย่างไร


เนื่องจากดีไซน์เนอร์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยตลาด ในปัจจุบันจึงมีคนจำนวนไม่น้อยที่เค้าทำหน้าที่เก็บข้อมูลของผู้บริโภคแทนบริษัทหรือผู้ว่าจ้างเหล่านั้น เขาจะเก็บข้อมูลในการเลือกซื้อ แพทเทิร์น รวมไปถึง กิจกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้เราได้รู้ว่า เสื้อผ้าแบบไหนที่ผู้บริโภคต้องการ ซึ่งสิ่งแบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากขาดความร่วมมือจากร้านค้า เจ้าของร้านเสื้อผ้า ทั้งผู้ค้าปลีก และ ผู้ค้าส่ง

อีกเรื่องนึงที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ ความเป็นมืออาชีพ ซึ่งรู้มั้ยว่า การที่จะเป็นมืออาชีพได้นั้น พวกเขาจำเป็นต้องรู้ข้อมูลหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ สีสัน รวมไปถึงการเลือกเสพย์สื่ออย่างการดูวิดีโอแฟชั่น นิวส์เล็ทเตอร์ หนังสือ แม็กกาซีน และ เว็บไซต์ เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับฤดูกาลที่จะมาถึง ซึ่งทุกอย่างนี้เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับนักพยากรณ์แฟชั่น เพราะหากขาดการคาดการที่ดีจากนักพยากรณ์ ผู้ผลิตเสื้อผ้าก็คงจะไม่อนุญาต
ให้เอาสินค้าที่ตกเทรดออกมาลดราคา ซึ่งเราหลายๆคนอาจเคยเห็นร้านค้าในห้างเอาสินค้าลดราคาออกมาขาย รุ้ไหมว่านั่นก็เป็นผลอันเนื่องมาจากกูรูนักพยากรณ์แฟชั่นนี่แหละจ้า ^_^

Fashion Design - inspiration and concept















Fashion design : inspiration and concept.

เมื่อพูดถึงคำว่า แฟชั่นดีไซเนอร์ แน่นอนว่า ดีไซเนอร์เหล่านั้นเขาสามารถหา คอนเซ็ปต์ และ แรงบันดาลใจ สามารถมาได้จากทุกๆสิ่ง บางครั้งอาจจะที่ทำงาน ร้านหนังสือ หรือแม้กระทั้ง ขณะยืนรอรถเมล์อยู่ก็เป็นได้ แรงบันดาลใจ ( Inspiration ) อาจจะมาจาก เพลงที่เราฟังแล้วรู้สึกชอบ จนไปถึง มื้ออาหารที่คุณโปรดปราน แต่ แรงบันดานใจ จะไม่ใช่การที่คุณ วาดเสื้อผ้าเล่นๆบนกระดาษแล้วพบมันเข้า ( การสร้างมันขึ้นมาจากการวาดไปเรื่อยเปื่อย หรือจากความบังเอิญที่มาจากการวาดไปเรื่อยเปื่อย และ การนึกคิดขึ้งมาเองนั้นแสดงว่า แรงบันดาลใจของคุณนั้นใช้ไม่ได้ )
การเริ่มต้นออกแบบแล้วคุณไม่พอใจกับงานของคุณเอง นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีความสามารถในงานออกแบบเสื้อผ้า แต่การออกแบบเสื้อผ้าที่ดีจะต้องมีการฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา หมั่นเรียนรู้ และ ศึกษาอยู่ตลอดเวลา
การออกแบบแฟชั่นไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการวาดรูปให้สวยก่อนแล้วจึงออกแบบเสื้อผ้าได้ แต่การออกแบบเสื้อผ้านั้นต้องเริ่มจากการพัฒนาความคิดของเราให้ลึกซึ้ง ซึ่งนั้นสำคัญมากกว่าการที่เราจะฝึกวาดรูปให้สวย

คอนเซ็ปต์จับต้องได้ คอนเซ็ปต์จับต้องไม่ได้ นามธรรม หรือ รูปธรรม
แน่นอนครับคอนเซ็ปต์ของเรานั้น จะไปได้สวยแค่ไหน ต้องอยู่ที่ว่า คอนเซ็ปต์ของเรานั้น เราจะสื่อ มันออกมาอย่างไร และ มากน้อยเพียงใด

คอนเซ็ปต์ที่ยากเกินไปมักจะทำให้ผู้ชมหรือผู้ที่สนใจนั้น สับสน และ ไม่สามารถบอกได้ว่าคุณกำลังเล่นกับคอนเซ็ปต์อะไรอยู่ และบางครั้ง concept-1 ได้มาจากคนละที่กับ concept-2 แต่ทำไม งานถึงออกมาทำไมถึงเหมือนกัน ?
แล้วทำไม งาน Concept-1 กับ งาน Concept-1 ที่มีผู้ออกแบบต่างกัน ผลงานถึงออกมาไม่เหมือนกัน ?
ครับ อยู่ที่การตีความของ คอนเซ็ปต์ครับ ว่าเราจะตีความออกมา ได้ดีแค่ไหนและนำไปใช้ได้ดีแค่ไหน
สไตล์ของงานแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนทำอีกอย่างได้ แต่บางคนไม่สามารถทำได้แต่ทำอีกอย่างได้แทน หากว่าเราคิดว่าเราแพ้ ให้เราคิดว่าเราไม่ได้แพ้ทุกอย่าง

Mood board
*เป็นสิ่งที่สำคัญมากครับเพราะมันคือสิ่งที่จะแสดงให้คนรู้ว่าเรากำลังทำอะไร…

การออกแบบเสื้อผ้า จะต้องรู้เรื่องผ้า ?
แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญรองลงมาจาก เรื่องแรงบันดาลใจก็คือ ความเข้าใจในเนื้อผ้า และลักษณะของผ้าชนิดต่างๆ
ทำไมต้องรู้เรื่องผ้า ?
เพื่อปรับให้เข้ากับ แรงบันดาลใจของเรา เช่น คอนเซ็ปต์ ของเรามีลักษณะ หยาบ แล้วผ้าชนิดไหนหล่ะ ที่จะมาเข้ากับ คอนเซ็ปต์ของงานเรา พึงนึกเสมอว่าอย่านำงานของผู้อื่นมาเป็นที่ตั้งของตัวเอง แต่ให้นำ คอนเซ็ปต์ของเราเป็นที่ตั้งแทน เรื่อง สไตล์ของเสื้อไม่ต้องพูดถึง ให้นำ คอนเซ็ปต์ของเรามานั่งดูว่า สไตล์ ( style ) ของเสื้อผ้าเรานั้นจะต้องออกมาเป็นแบบไหน รวมไปถึง สีที่จะใช้ ด้วย ( ยกเว้นหากเป็นงาน JOB ควรทำให้ตรงตาม สไตล์ ของผู้สั่งงาน เพราะคุณคงไม่อยากเป็น ดีไซเนอร์ใส้แห้งใช่ไหม ?)

การเป็น fashion designer การบ่งบอกและแบ่งแยก ( เพศ ) ในประเทศไทยเป็นเพียงค่านิยม Fashion design คือ ART แขนงหนึ่ง ที่เรามักจะใส่ สีสันลงไป ไม่ใช่แค่ผืนผ้าใบ แต่เป็น บนเสื้อผ้า งานแฟชั่นจับต้องได้มองเห็นได้และสัมผัสได้ แฟชั่นดีไซน์ไม่ใช่ Presentation ไม่ใช่ โลกใดโลกหนึ่ง, Fashion design คือ สิ่งที่เราเป็นอยู่ คือสิ่งใกล้ตัว และคือสิ่งที่เราทุกคนยังมองหามันอยู่เสมอ…


แล้วคุณล่ะ หา Inspiration ของคุณได้หรือยัง

credit: designer.in.th

13.7.10

ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ 13.07.2553

วันนี้ 13.07.2553 ของ IDF











วันแรก ของ IDF






















































ขอขอบคุณทีมงานทุกๆคน ที่เราได้ร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อสร้างฝันให้เป็นจริง
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...