content

20.6.11

colour | jason mraz

เราเป็นคนหนึ่งที่ชอบเจสัน มราซมาก
เวลาฟังเพลงของเขามันทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและเหมือนได้ออกไปเที่ยว

เป็นความรู้สึกส่วนตัวนะคะ :-) แค่นึกถึงก็รู้สึกchill แล้ว ไม่รู้คนอื่น ๆ จะเคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันบ้างรึเปล่า


indy music


ได้พาเลตสีมาแล้ว ก็เอามาออกแบบกันเลย







18.6.11

48040654♥iloveugly



have a nice day :,)
ขาดแรงบันดาลใจระวังหมดแรง

สำหรับฉัน บางทีอาจเป็นเพราะเราขาดแรงบันดาลใจ และมันดูเหมือนน่าเศร้านะคะ ถ้าหากจะเปรียบก็คงเหมือนมีดินสอและกระดาษอยู่ในมือ แต่ไม่รู้จะวาดอะไรลงบนนั้นดี- -

ช่วงนี้ฉันเป็นบ่อยมาก  จนต้องละลายพฤติกรรมตัวเองบ้าง *ปล่อยไว้ไม่ได้เดี๋ยวจะติดเป็นนิสัย*
และสิ่งที่ช่วยได้ดีสำหรับฉัน คือหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ อ่านหนังสือ และฟังเพลง

แต่ที่ทำได้ดีจนเหมือนจะหยุดอาการอึนไปได้ คือ การสร้างสี สร้างความรู้สึก

การได้แบ่งปันจินตนาการร่วมกับผู้อื่น ทำให้รู้สึกเหมือนถูกปลอดปล่อย *ไม่รู้เว่อไปรึเปล่า แต่พูดจริง ๆ มันเป็นอย่างนั้น  บางทีเครียดกับงานมาก ๆ ลองหาอะไรที่เราชอบและปล่อยความคิดไป ช่วยได้เยอะเลยค่ะ

ไม่รู้เป็นอะไรนะคะ หากมองไปที่ผลงานของคนอื่น ฉันมักจะชอบผลงานที่ดูนุ่มนวล และเรียบง่าย
ซึ่งจะสวนทางและขัดกับงานของตัวเองยังไงก็ไม่รู้  555

แต่นั่นมันอาจจะเป็นสไตล์ของฉันไปแล้วก็ได้ - - 




































10.6.11

ใครอยากรู้ว่าตัวเองจะนุ่งผ้าสีอะไรถึงจะดีต่อสุขภาพ นี่คือความลับของสายรุ้ง



ความลับของสายรุ้งกับจักระสุขภาพ

จักระตลอดร่างกายของเราประกอบไปด้วย 7 จุด และแต่ละจักระนั้นมีความไวต่อ 7 สีสัน

ในเชิงจิตวิญญาณเชื่อกันว่า สีต่างๆ จะไปเสริมออร่าของร่างกาย ส่วนในทัศนะของนักวิทยาศาสตร์

เชื่อว่า สีสันซึ่งมีความยาวคลื่นเฉพาะตัวนั้น ส่งผลกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในร่างกาย

          

สีแดง
มีอิทธิพลต่อจักระพื้นฐานอันได้แก่ ระบบการทำงานของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้ร่างกายเต็มไปด้วยพลังชีวิต ความเข้มแข็งด้านจิตใจ และสมดุลแห่งระบบไหลเวียนโลหิต ในทางกลับกัน การอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสวมใส่สีแดงที่มากเกินไป จะส่งผลเสียให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไปจนเครียด อารมณ์แปรปรวน และจิตใจรุ่มร้อนด้วยโทสะ



สีส้ม
สีส้มมีอิทธิพลในด้านสังคม ทัศนคติเชิงบวก ส่งผลต่อจักระที่ควบคุมการทำงานของระบบไต ระบบปัสสาวะ และระบบสีบพันธุ์ ในทางกลับกัน การอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสวมใส่สีส้มที่มากเกินไป จะส่งผลเสียให้จิตใจหงุดหงิด มองโลกในแง่ร้ายและจิตใจกระวนกระวายสับสน




สีเหลือง
สีเหลืองมีอิทธิพลต่อจักระที่ควบคุมระบบช่องท้อง สร้างสมดุลในระบบน้ำย่อย ให้ผลต่อการยกระดับจิตใจ ลดความหวาดระแวง ความสับสน และเพิ่มสมาธิในการตัดสินใจ ในทางกลับกัน การอยู่ในสภาพแวดล้อม หรือสวมใส่สีเหลืองที่มากเกินไป จะส่งผลเสียให้ขาดสมาธิ และกระตือรือร้นเกินพอดี



สีเขียว
สีเขียวมีอิทธิพลต่อจักระที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ ช่วยเพิ่มเสถียรภาพทางความคิด ความสงบ กระจ่าง เสริมทัศนะการใช้ชีวิตในแบบสงบสุข ร่มเย็น และมุมมองความรัก การให้อภัย สันติภาพ ไม่มีผลเสียสำหรับการอยู่ในสภาพแวดล้อม หรือสวมใส่สีเขียวที่มากเกินไป



สีน้ำเงิน
มีอิทธิพลต่อจักระในระบบช่องคอ ปอด ช่วยในการแสดงออกทางสังคม การสื่อสาร ความมุ่งมั่น สุนทรีย์ในศิลปะ เชื่อว่าสีน้ำเงินยังปลดเปลื้องความทุกข์ทรมานจากการนอนไม่หลับ ความเครียด อาการระคายเคืองคอ ความดันเลือดสูง และอาการไมเกรนอีกด้วย ไม่มีผลเสียสำหรับการอยู่ในสภาพแวดล้อม หรือสวมใส่สีน้ำเงินที่มากเกินไป



สีคราม
สีครามมีอิทธิพลต่อจักระในดวงตาที่สาม ซึ่งอยู่ในตำแหน่งหน้าผาก กึ่งกลางระหว่างดวงตาทั้งสองข้าง ควบคุมการทำงานของอวัยวะในส่วนขมับ หน้าผาก ลงมาถึงดวงตา ให้ผลในการควบคุมสมดุลการทำงานของระบบน้ำเหลือง ระบภูมิคุ้มกันโรค การกำจัดของเสีย และเพิ่มสมรรถภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ไม่มีผลเสียสำหรับการอยู่ในสภาพแวดล้อม หรือสวมใส่สีครามที่มากเกินไป




สีม่วง
สีม่วงมีอิทธิพลต่อจักระตำแหน่งมงกฏ หรือบริเวณกระหม่อม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้ความคิด สมอง พลังจิต ความมุ่งมั่นและญาณทัศนะ เหมาะสำหรับผู้ทำงานบริหาร ในทางกลับกัน การอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสวมใส่สีม่วงที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อนิสัย ความคิด ทำให้เป็นคนหลงตัวเอง และเย่อหยิ่ง


หลายสิ่งพิสูจน์ไม่ได้ในแบบวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่หมายความว่ามันไม่มีจริง หรืองมงาย เพราะในทางตรงกันข้าม บางทีอาจต้องโทษพวกนักวิชาการมากกว่า ว่าพวกเขาอาจยังไม่เจริญพอที่จะไขความลับแห่งธรรมชาติ จักระก็เช่นกัน มันอาจมีพลานุภาพมากกว่าผลที่ถูกพิสูจน์ในปัจจุบันก็ได้ เรื่องพวกนี้ไม่มีอะไรแน่นอนเท่าการทำเองรู้เอง




CREDIT:http://www.womaninfocus.com/knowledge-114.htm

9.6.11

WHITECU.BE

WHITECU.BE

พลัดหลงเข้าไปในเว็บนี้ ฉันพบว่ามันดูน่าสนใจมากเลย เลยเอามาแบ่งปันให้ชมกันค่ะ

:))
สีสันกับแรงบันดาลใจ



06090654♥iloveugly
Color by COLOURlovers




20090654♥iloveugly
Color by COLOURlovers

4.6.11

มินิมอลลิสม์
สารัตถศิลป์
Minimalism








ต้นคริสต์ทศวรรษ 1960-กลาง 1970


ศิลปะที่ว่าด้วย “ความน้อย” เกิดจากการลดตัดทอนมีมานานแล้ว และเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของ ศิลปะสมัยใหม่ เสียด้วย เช่น ในจิตรกรรมของฝรั่งเศสตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 จิตรกรหัวก้าวหน้าทำการลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของแบบที่เขียนลง และแทนที่รายละเอียดเหล่านั้นด้วยฝีแปรงและสีสัน จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จิตรกรลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของรูปทรงลงจนกลายเป็นเหลี่ยมเรขาคณิต แล้วก็ลดทอนลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นศิลปะนามธรรม

มินิมอลลิสม์ คือ พัฒนาการขั้นสุดยอดขั้นหนึ่งของเส้นทางศิลปะนามธรรม ที่ว่าสุดยอดก็เพราะศิลปะในกลุ่ม มินิมอลลิสม์ ลดทอนปัจจัยต่างๆ ทางรูปทรงศิลปะลงจนเหลือรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ เรียกได้ว่าทำให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

ใน ปี 1965 บาร์บารา โรส (Barbara Rose) นักวิจารณ์ศิลปะชาวอเมริกัน คือคนแรกที่อธิบายการทำงานของงานแนวนี้ว่า “น้อยที่สุด” (minimum, มินิมัม) ครั้นปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 คำว่า มินิมอลลิสม์ ก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายกันทั่วไปในวงการศิลปะ

หากสืบค้นหาอิทธิพลทางรูปแบบศิลปะที่กลุ่มนี้ได้รับ จะพบว่าศิลปินยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง บาร์เน็ท นิวแมน (Barnett Newman, 1905-1970) แอ็ด ไรน์ฮาร์ท (Ad Reinhardt, 1913-1967) และ เดวิด สมิธ (David Smith, 1906-1965) เป็นผู้บุกเบิกศิลปะนามธรรมแบบลดทอนรูปทรงจนเหลือแต่น้อยๆ สองคนแรกเป็นจิตรกร ส่วนคนหลังเป็นประติมากร มินิมอลลิสม์ ได้อาศัยหนทางที่พวกแนวหน้าเหล่านั้นบุกเบิกเป็นทางเดินเข้าหาความน้อยในศิลปะ

ศิลปินในกลุ่ม มินิมอลลิสม์ มักจะทำงานประติมากรรมมากกว่างานจิตรกรรม การนำเสนอผลงานโดยมากจะไม่มีแท่นฐานสำหรับวางประติมากรรม ผลงานจะดูไม่มีความเป็นงานฝีมือในลักษณะ “งานทำมือ” แต่จะดูเป็นผลผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเสียมากกว่า
ผลงานในลักษณะนี้ นอกจากจะน้อยเรียบง่ายแล้ว ยังต้อง “เนี้ยบ” ประณีตหมดจดมากๆ อีกด้วย ความสวยงามของงานแนวนี้จะอยู่ที่วัสดุที่นำมาสร้างงาน โดยมากจะต้องปล่อยให้ธรรมชาติของวัสดุชิ้นนั้นๆ ได้แสดงตัวของมันอย่างเต็มที่ เช่น ความมันวาวในแบบสเตนเลส เนื้อหยาบดิบของก้อนอิฐ หรือพื้นผิวและสีที่กระด้างของแผ่นโลหะ

แม้ว่าการลดทอนให้เหลือน้อยที่สุด ทำผลงานให้เรียบง่ายที่สุด ปล่อยให้ตัววัสดุแสดงตัวตนของมันมากที่สุด จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลงานแนวนี้หลุดพ้นไปจากการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก บ้างก็ดูจืดชืดไร้อารมณ์สำหรับบางคน และความเรียบง่ายของมันทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นหรือไม่เป็นศิลปะ หลายคนมองว่าผลงานเหล่านี้ดูเหมือนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คนที่ไม่ใช่ศิลปินก็สามารถทำของแบบนี้ได้เช่นกัน

ผลงานแนว มินิมอลลิสม์ จึงไม่น่าจะมีรูปแบบเฉพาะตัวของแต่ละศิลปิน ยิ่งถ้าไปเปรียบกับงานแนวแสดงออกทางอารมณ์หรือแนวทางการสร้างรูปทรงแปลกๆ เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ผลงานของ มินิมอลลิสม์ จะยิ่งไม่น่าที่จะมีความเป็นส่วนตัวของศิลปินเลย

แต่ในความเป็นจริง ในความเรียบง่ายเหมือนกับว่าจะไม่มีรูปแบบเฉพาะ ศิลปินในกลุ่มนี้ต่างมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน

คาร์ล อังเดร (Carl Andre) มักจะใช้แผ่นโลหะดิบแบนที่มีผิวหน้าค่อนข้างเรียบ หรือบ้างก็ใช้ก้อนอิฐมาวางเรียงกันเป็นตาราง โดยจัดให้มันสัมพันธ์กับพื้นที่ที่แสดงผลงาน

แดน ฟลาวิน (Dan Flavin) ขึ้นชื่อมากในการนำเอาแท่งหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์มาจัดวางเรียงกันเป็นประติมากรรม แสงสีจากหลอดไฟทำให้มันมีคุณลักษณะเป็นจิตรกรรมไปด้วย

ประติมากรรมของ โรเบิร์ต มอร์ริส (Robert Morris) มักจะเป็นสี่เหลี่ยมลูกบาศก์คล้ายกล่อง โดนัลด์ จัดด์ (Donald Judd) ทำประติมากรรมด้วยสเตนเลสและแผ่นพลาสติก ที่โด่งดังมากคือผลงานที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายชั้นวางของติดผนัง

ริชาร์ด เซอร์รา (Richard Serra) โดดเด่นที่สุดในการใช้แผ่นโลหะดิบๆ หนาเตอะ มีขนาดใหญ่โตดูทรงพลัง ชิ้นประวัติศาสตร์ของเขาคือ ทิลเต็ด อาร์ค (Tilted Arc, ปี1981) ผลงานนี้เป็นแผ่นโลหะต่อกันเป็นผนังยาว 120 ฟุต หนา 2.5 นิ้ว ติดตั้งขวางทะแยงอยู่ตรงกลาง เฟเดอรัล พลาซ่า ในนครนิวยอร์ค เป็นงานศิลปะในที่สาธารณะที่อื้อฉาวมาก เนื่องจากไม่มีชาวบ้านคนไหนชอบมันเลยและศิลปินก็ปฏิเสธที่จะย้ายมันไปที่อื่น เซอร์รา อ้างว่าเนื่องจากผลงานชิ้นนี้ถูกคิดและทำขึ้นเพื่อที่ตรงนั้นโดยเฉพาะ หากย้ายที่ผลงานชิ้นนี้ก็หมดค่า โรเบิร์ต ฮิวส์ (Robert Hughes) เจ้าของงานเขียน เดอะ ช็อค ออฟ เดอะ นิว (The Shock of the New) บอกว่าจากกรณีนี้ได้พิสูจน์ว่า ศิลปะที่ดีอาจจะไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นศิลปะในที่สาธารณะที่ดี

แม้ว่าชาวบ้านจะมีปัญหากับงานแนวนี้มาก แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1970 หน่วยงานรัฐและเอกชนกลับนิยมสะสมกันมาก ซึ่งสอดคล้องไปกับกระแสนิยมการสร้างตึกระฟ้าทรงสี่เหลี่ยม ที่ห่อหุ้มด้วยกระจกที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรม มินิมอลลิสม์

มินิมอลลิสม์ เป็นแนวศิลปะกระแสหลักที่ครอบงำวงการศิลปะในอเมริกาช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เปรียบได้กับ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Abstract Expressionism) ที่ได้รับความนิยมมากในคริสต์ทศวรรษ 1950








ศิลปิน: คาร์ล อังเดร (Carl Andre, 1935-), โรนัลด์ บลาเด็น (Ronald Bladen, 1918-1988), แดน ฟลาวิน (Dan Flavin, 1933-1996), มาเธียส โกทิทซ์ (Mathias Goetitz), โดนัลด์ จัดด์ (Donald Judd, 1928-1994), โซล เลวิทท์ (Sol Lewitt, 1928-), โรเบิร์ต แมนโกลด์ (Robert Mangold, 1937-), ไบรซ์ มาร์เด็น (Brice Marden, 1938-), แอ็กเนส มาร์ติน (Agnes Martin, 1912-), จอห์น แม็ค แคร็คเค็น (John Mc Cracken), โรเบิร์ต มอร์ริส (Robert Morris, 1931-), ริชาร์ด เซอร์รา (Richard Serra), โดโรธี ร็อคเบิร์น (Dorothea Rockburne, 1912-1981), แฟรงค์ สเตลลา (Frank Stella, 1936-)

credit: http://www.designer.in.th/
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...